วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การปลูกดอกมะลิ


    การปลูกดอกมะลิ




การปลูกมะลิ         

               คน เราทุกวันนี้นิยมใช้ดอกมะลิกันมากในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นการบูชาพระ การร้อยมาลัย การจัดพานพุ่มในงานพิธีต่างๆ โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ จะมีการใช้มะลิในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้น ดอกมะลิจึงถือเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกเป็นอย่างดี มะลิที่ปลูกเพื่อการขายในปัจจุบันเป็นพันธุ์ มะลิลา” ดอกสีขาวและค่อนข้างจะใหญ่ มีกลิ่นค่อนข้างแรง ตลาดมะลิยังไปได้ดี ไปได้ถึงต่างประเทศ ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ ทั้งในรูปของมะลิสด และมะลิที่แปรรูปเป็นพวงมาลัย พานพุ่ม ราคาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 70-80บาท ต่อ กิโลกรัม ในช่วง หน้าฝนดอกมะลิจะออกสู่ตลาดมาก ราคาอาจจะต่ำไปกว่านี้ ในช่วงหน้าหนาวมะลิจะออกดอกน้อย ราคาก็พุ่งสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 400-600 บาท          มะลิ เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่เป็นดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย ในพื้นที่ลุ่มน้ำที่มีน้ำท่วมในฤดูฝน เกษตรกรควรยกร่องให้สูงพ้นน้ำ หากพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึงก็ไม่จำเป็นที่จะต้องยกร่องสูง แต่ก็จะต้องยกร่องเพื่อการระบายน้ำได้ดี ก่อนนำมะลิลงปลูกเกษตรกรจะต้องมีการปรับปรุงดิน โดนเติมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก  และเสริมด้วยน้ำหมักชีวภาพ ระยะการปลูก หากปลูกชิดทรงพุ่มจะเล็ก ถ้าปลูกห่างทรงพุ่มจะใหญ่ ระยะที่พอเหมาะควรจะเป็น 1  2 เมตร คือ ระหว่างต้น 1 เมตร ระหว่างแถว 2เมตร พื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ 800 กอ มะลิเป็นพืชที่ต้องการน้ำค่อนข้างมาก หากมีการจัดระบบน้ำเป็นสปริงเกลอร์ จะเหมาะสมที่สุด          ภายหลังการปลูกประมาณ 6 เดือน มะลิจะเริ่มให้ผลผลิตแล้ว แต่จะยังมีปริมาณไม่มาก เมื่อมะลิออกดอก เกษตรกรจะต้องเก็บดอกเรื่อยๆ พยามอย่าให้ดอกค้างบนต้น เพราะถ้าดอกค้างอยู่ดอกใหม่จะไม่ค่อยสมบูรณ์ เป็นดอกเล็ก ภายหลังจากการเก็บดอกแล้วมะลิจะให้ดอกสม่ำเสมอ ต้องเก็บดอกทุกวัน เกษตรกรต้องวางแผนให้เหมาะสม จะปลูกในพื้นที่กี่ไร่ ใช้แรงงานเก็บเกี่ยวกี่คน หากระทำกันในครัวเรือน บนพื้นที่ 1-2ไร่ ก็เพียงพอแล้ว มะลิเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก ก่อนปลูกต้องคำนึงถึงแหล่งน้ำ จะต้องเสริมด้วยปุ๋ยหมักน้ำทุก 7 วัน และให้ปุ๋ยแห้งทุก 15 วัน มะลิหากได้รับการดูแลดีๆ บนพื้นที่ 1 ไร่ สามารถเก็บเกี่ยวได้ถึง 10 กิโลกรัมต่อวัน หากราคากิโลกรัมละ 50 บาท ก็จะมีรายได้วันละ 500 บาท หากปลูก ไร่ ก็มีรายได้วันละ 1,000 บาท          สภาพร่อง การปลูกมะลิจะต้องเป็นแบบหลังเต่า จะทำให้ระบายน้ำได้ดีในฤดูฝน ศัตรูที่ชอบกัดกินมะลิคือ เพลี้ยใบ และหนอนเจาะดอก เกษตรกรจะต้องป้องกันด้วยการฉีดสารสมุนไพรไล่แมลงเป็นระยะ ๆ โดยเฉาะช่วงหน้าร้อน การให้น้ำแบบสปริงเกลอร์จะช่วยป้องกันแมลงได้ หากเกษตรกรปล่อยน้ำตั้งแต่ตอนเย็นจนถึงพลบค่ำ เพราะแมลงจะออกหากินในตอนกลางคืนและวางไข่ตอนกลางคืน โดยเฉพาะตอนพลบค่ำ          มะลิมีอายุการให้ผลิตไม่จำกัดเวลา อยู่ที่การดูแล บางส่วนแค่ 4-5 ปีก็หมดสภาพแล้ว บางส่วนเก็บเกี่ยวได้ถึง 20 ปี เกษตรกรบางรายเก็บดอกมะลิแล้วนำมาร้อยเป็นมาลัยหน้ารถ วางขายริมทางก็สร้างรายได้เพิ่มมูลค่าได้ถึง 3 เท่าของราคามะลิดิบ ผู้ที่ประสงค์จะปลูกมะลิต้องหลีกเลี่ยงสารเคมีโดนเด็ดขาด เนื่องจากมะลิเป็นพืชที่ผู้บริโภคต้องการกลิ่น หากมสารเคมีเจือปนจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค การตัดแต่งกิ่งหรือการทำสาว ก็เป็นเรื่องที่สำคัญที่ทำให้ทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดส่องได้โดยทั่วมีผลต่อการออกผลผลิต และช่วยขจัดโรครา เมื้อสิ้นฤดูกาลหนึ่งๆ เกษตรกรจะต้องคอยตรวจตราทรงพุ่ม ทำการตัดแต่งให้โปร่ง กิ่งใดที่แก่เกินไปต้องตัดทิ้ง เพื่อให้กิ่งใหม่เกิดขึ้น มะลิเป็นพืชที่สร้างรายได้ให้แก่ผู้ปลูกทุกวัน ต้องการรายได้วันละ 500 บาท ต้องปลูกมะลิ 1 ไร่  ต้องการรายได้วันละ 5,000 บาท ต้องปลูกมะลิ 10 ไร่ ต้องการรายได้วันละ50,000 บาท ต้องปลูกมะลิ 100 ไร่ 

อ้างอิง : การปลูกมะลิ 

การปลูกดอกกุหลาบ


การปลูกดอกกุหลาบ





การปลูกกุหลาบไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรเลย เพียงแต่เราต้องใจเย็นนิดนึง รอเวลาว่าที่เหมาะสมเสียก่อนแล้วค่อยปลูก ไม่ใช่ว่าซื้อมาจากสวนสดๆ ร้อนๆ ก็เอาลงกระถางเลย รับรองว่าเสร็จทุกรายไป :) แรกๆ ผมก็เป็นอย่างนี้แหละครับ ทำอย่างนี้พอดอกหมด ต้นก็เตรียมตายได้เลย มาดูขั้นตอนกันเลยดีกว่าจะได้ไม่เสียเวลา เวลาเป็นเงินเป็นทองอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
  1. ต้นกุหลาบที่ถูกเลือกมาเป็นอย่างดี อิอิ
  1. ดินสำหรับปลูกกุหลาบโดยเฉพาะ อันนี้ไม่มีสูตรตายตัวนะครับ ถ้าเราไปถามตามร้านขายต้นไม้ เค้าก็มักจะตอบว่าใช้ได้หมดแหละซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่เลย เรื่องดินเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดเลยก็ว่าได้ในการปลูกกุหลาบ แล้วจะเลือกยังไง ? เอาง่ายๆนะครับ เลือกดินที่หลังจากปลูกไปแล้วในอนาคตจะไม่กลายสภาพเป็นดินเหนียวก็แล้วกัน
  1. กระถางดินเผาที่ควรมีความกว้างของปากกระถางอย่างน้อย 1 ฟุต เพราะกุหลาบเป็นพืชที่กินแร่ธาตุในดินมาก ทำให้สารอาหารในดินหมดเร็ว และเราก็จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนกระถางบ่อยๆ หากต้นโตขึ้น
  1. ฟูราดาน สำหรับรองก้นกระถาง หรือหลุมถ้าปลูกลงดิน เพื่อป้องกันหนอนมากัดกินใบและดอก
  1. ปุ๋ย ต่างๆ แล้วแต่ความชอบครับ เน่นให้เป็น บำรุงใบแล้วกัน เพราะถ้าใบดี ต้นก็จะแข็งแรง ดอกก็จะมาเองโดยไม่ต้องร้องขอ
  1. ขลุยมะพร้ามป่นสำหรับคลุมบนผิวดินเพื่อรักษาความชุ่มชื้น อันนี้ต้องเอามาแช่น้ำทิ้งไว้ซัก 1 คืน ก่อนใช้นะครับ
ขั้นตอนการปลูก
  1. เมื่อเราซื้อต้นกุหลาบมาไม่ว่าจะพันธุ์อะไรก็ตาม ให้พักต้นไว้ประมาณ 7 วัน ตัดดอกที่ติดมากับต้นปักแจกันให้หมดทั้งตูมทั้งบาน อย่าเสียดาย (นับลงมาจากดอก 5 ใบ แล้วตัด) ก่อนเอาลงกระถางหรือเอาลงดิน ไม่ต้องใส่ปุ๋ยบำรุงใดๆ ทั้งสิ้นในช่วงนี้ เพียงแต่รดน้ำตอนเช้าทุกวันเท่านั้นพอ การรดน้ำต้นกุหลาบ ก็ควรรดที่โคนต้นเท่านั้นนะครับ ไม่ใช่ฉีดน้ำเป็นสายรดทั้งต้น เพราะจะทำให้ต้นกุหลาบเป็นโรคง่าย "อันนี้ต้องจำไว้เลยนะครับ ไม่จำเป็นอย่ารดน้ำให้โดนดอกหรือใบ"
  1. โดยภายใน 7 วันอันตรายนี้ ก็ให้ค่อยๆ ขยับต้นกุหลาบให้โดนแดนวันละนิด เช่น วันแรกให้วางต้นกุหลาบให้อยู่ในตำแหน่งที่โดนแดดประมาณ 1 ชั่วโมงพอ แล้วเพิ่มไปวันละชั่วโมง จนครับ 7 วัน ก็ประมาณ 6-8 ชั่วโมงพอดี
  1. หากไม่มีอะไรผิดพลาดจะเริ่มสั่งเกตเห็นว่ากุหลาบเริ่มแตกตาใหม่ๆ ออกมาใกล้กับบริเวณที่เราตัดดอกทิ้งในขั้นตอนที่ 1 แสดงว่าต้นแข็งแรงดี ถ้าไม่เป็นตามนี้ก็อาจจะมีอาการใบเหลือง ซึ่งแสดงว่าขาดน้ำ (รดน้ำไม่ชุ่มพอ)
  1. วันที่ 8 ถ้าพร้อมก็ปลูกได้เลย โดยให้เอาต้นกุหลาบออกจากถุงเพาะ หรือกระถางเดิมซึ่งใบเล็ก แล้วนำไปใส่กระถางใบใหม่ โดยใส่ดินรองที่ก้อนกระถางก่อนประมาณ 3 นิ้ว กดให้แน่น วางต้นกุหลาบลงไปพร้อมดินเดิมที่ติดต้นมา เทดินที่เหลือใส่ ค่อยๆ อัด เหลือพื้นที่ไว้คลุมขลุยมะพร้าวที่แช่น้ำไว้ด้วยด้ว
  1. ลองรดน้ำดู น้ำควรไหลผ่านชั้นดินลงไปได้ดี แต่ไม่เร็วเกินไป และไม่ช้าเกิน 10 นาที ถ้าเร็วเกินดินก็จะรักษาความชื้นไว้ไม่ดี แต่ถ้าช้าเกินก็จะทำให้รากเนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้จริงๆ :)
  1. กระถางกุหลาบควรถูกวางในตำแหน่งที่ได้รับแสงแดดวันละอย่างน้อย 6 ชั่วโมง

การปลูกดอกกล้วยไม้


การปลูกดอกกล้วยไม้





การปลูกกล้วยไม้
           เนื่องจากในรอบปีแต่ละปีนั้น มีการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลตาม และความชุ่มชื้นก็ตาม อัตราการเจริญของกล้วยไม้ต่างๆในแต่ละฤดูกาล ก็มีความสอดคล้องกับบทบาทการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เช่นเดียวกันกับพันธุ์ไม้อื่นๆ ประเทศไทยตั้งอยู่ค่อนมาทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร (equator) ของโลก ซึ่งมีผล กำหนดลักษณะฤดูกาลไว้อย่างแน่ชัด การปลูกและการขยายพันธุ์ ไม้ควรยึดหลักปฏิบัติในระยะต้นๆของฤดูเจริญเติบโต เพื่อให้ กล้วยไม้ได้มีโอกาสตั้งตัวและเจริญแข็งแรงดี ก่อนถึงฤดูกาลที่กล้วยไม้จะต้องมีการเจริญช้าลง หรือบางชนิดก็พักตัว ฤดูเจริญ เติบโตของกล้วยไม้เริ่มต้นระหว่างปลายฤดูแล้งต่อต้นฤดูฝนหรือประมาณเดือนมีนาคม-มิถุนายนกล้วยไม้ที่อยู่ในสภาพซึ่งควรจะได้พิจารณาปลูกใหม่ ได้แก่ กล้วยไม้ที่มีอายุมากอยู่ในสภาพทรุดโทรม สมควรที่จะตัดแยก และปลูกใหม่ กล้วยไม้ที่แตกกอขนาดใหญ่มากเกินไป หรืออยู่ในสภาพที่ระบบรากหมดอายุ การตัดแยกปลูกใหม่จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงสมบูรณ์ให้แก่กล้วยไม้ได้ นอกจากนั้น การหาพันธุ์กล้วยไม้มาจากธรรมชาติเพื่อนำมาปลูก ก็ควรกระทำในฤดูนี้ด้วย ภาชนะปลูกอาจใช้กระถางดินเผา หรือกระเช้าไม้ แล้วแต่ความเหมาะสม หากเป็นกล้วยไม้ที่มีระบบรากอากาศคือ มีรากใหญ่และโปร่ง เช่น กล้วยไม้หลายชนิดที่ขึ้นอยู่ตาม ต้นไม้ในธรรมชาติ อาทิเช่น กล้วยไม้สกุลแวนดา เป็นต้น ควรใช้ภาชนะปลูกที่มีลักษณะโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ส่วนเครื่องปลูกก็ควรยึดหลักการเช่นเดียวกันคือ ใช้เครื่องปลูกที่โปร่ง เช่น ถ่านไม้ เป็นต้น ในสมัยก่อนได้เคยมีผู้นิยมใช้รากเฟิร์นบางชนิด มีลักษณะเป็นเส้นสีดำเรียกกันว่า ออสมันดา(osmunda) เป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้กันอย่างแพร่หลาย ต่อมาออสมันดาหายากและมีราคาแพงยิ่งขึ้น จึงได้มีการสนใจใช้กาบมะพร้าวแห้งเป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้บางชนิด ต่อมาในภายหลังได้พิจารณาเห็นว่า การใช้ถ่านไม้นับเป็นวิธีการที่สะดวกกว่า จึงได้มีผู้นิยมมากขึ้นเป็นลำดับ แต่ก็มีผู้ซึ่งพยายามงดเว้นการใช้เครื่องปลูกใดๆทั้งสิ้น สำหรับกล้วยไม้ประเภทที่ มีรากอากาศ โดยให้รากเกาะอยู่ในภาชนะปลูกเท่านั้น ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่พอใจ ทั้งจำเป็นต้องมีการปรับวิธีการเลี้ยงดูให้สอดคล้องกับสภาพดังกล่าว เช่น มีการให้น้ำและให้ปุ๋ยมากขึ้นกล้วยไม้เหมือนพันธุ์ไม้ที่พบทั่วๆไปทั้งหลาย ซึ่งมีความต้องการน้ำ ปุ๋ย และการเลี้ยงดูตามสมควร
การเลือกทำเลปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อตัดดอกขายนั้นควรใกล้แหล่งน้ำที่สะอาด pH ของน้ำประมาณ 5.2 มีสภาพอากาศดี การคมนาคมสะดวกเพื่อความรวดเร็วในการขนส่งดอกกล้วยไม้ ซึ่งเสียหายได้ง่าย การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดีนั้นนอกจากต้องมี การดูแลที่ดีมีการให้ปุ๋ย ฉีดยาป้องกันโรค และแมลงในระยะที่เหมาะสมแล้วยังจำเป็นต้องมีโรงเรือน

วิธีการปลูก
การล้างลูกกล้วยไม้ คือการล้างลูกกล้วยไม้จากการเพาะเนื้อเยื่อออกจากขวดเพาะแล้วล้างให้หมดเศษวุ้นอาหาร นำจุ่มลงในน้ำยานาตริฟินในอัตราส่วนน้ำยา 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 2,000 ส่วน แล้วนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม แยกลูกกล้วยไม้ออกเป็น 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่พอจะปลูกลงในกระถางนิ้ว
การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดเล็ก ลูกกล้วยไม้ขนาดเล็กให้ปลูกในกระถางหมู่หรือกระถางดินเผาทรงสูงขนาด 4-6 นิ้ว รองก้นกระถางด้วยถ่านขนาดประมาณ 1 นิ้ว สูงจนเกือบถึงขอบล่างของกระถาง แล้วโรยทับด้วยออสมันด้าหนาประมาณ 1 นิ้ว ให้ระดับออสมันด้าต่ำกว่าขอบกระถางประมาณครึ่งนิ้ว ใช้มือข้างหนึ่งจับไม้กลมๆ เจาะผิวหน้าออสมันด้าในกระถางให้เป็นรูลึกและกว้างพอสมควร ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับปากคีบ คีบลูกกล้วยเบาๆ เอารากหย่อนลงไปในรูที่เจาะไว้ ให้ยอดตั้งตรง แล้วกลบออสมันด้าลงไปในรูให้ทับรากจนเรียบร้อย ควรจัดระยะห่างระหว่างต้นให้พอดี กระถางหมู่ขนาดปากกว้าง 4 นิ้ว ปลูกลูกกล้วยไม้ได้ประมาณ 40-50 ต้น
การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดใหญ่ ลูกกล้วยไม้ที่ต้นใหญ่ให้ปลูกในกระถางขนาด 1 นิ้ว ใช้ไม้แข็งๆ ค่อยๆ แคะออสมันด้าในกระถางตามแนวตั้งออกมาใช้นิ้วมือรัดเส้นออสมันด้าให้คงเป็นรูปตามเดิม ค่อยๆ แบะออสมันด้าให้แผ่บนฝ่ามือ หยิบลูกกล้วยไม้มาวางทับ ให้โคนต้นอยู่ในระดับผิวหน้าตัดของออสมันด้าพอดี หรือต่ำกว่าเล็กน้อย แล้วรวบออสมันด้าเข้าด้วยกัน นำกลับไปใส่กระถางตามเดิม เสร็จแล้วนำเข้าไปเก็บไว้ในเรือนเลี้ยงลูกกล้วยไม้ สำหรับลูกกล้วยไม้ขนาดเล็กที่อยู่ในกระถางหมู่มาเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือนขึ้นไป มีลำต้นใหญ่แข็งแรงพอสมควรแล้วควรย้ายไปปลูกลงในกระถางนิ้ว โดยนำกระถางหมู่ไปแช่น้ำประมาณ 10 นาที ค่อยๆ แกะรากที่จับกระถางและเครื่องปลูกออก แยกเป็นต้นๆ นำไปปลูกลงในกระถางนิ้วเช่นเดียวกัน